ประวัติและความเป็นมาของขนมไทย
ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณโดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวานโดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยงนับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระงานมงคลและงานพิธีการอาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วยของหวานอย่างน้อย5 สิ่งซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติสีสันชนิดตลอดจนลักษณะที่กลมกลืนกันแต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้10 ที่และขนมเป็นน้ำ1 ที่เสมอ
ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติเช่นจีนอินเดียมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกันตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วยต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆอย่างกว้างขวางไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นวัตถุดิบที่หาได้เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทยๆจนทำให้คนรุ่นหลังๆแยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ๆและอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่นเช่นขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่นสัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้นไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบทองหยอดและฝอยทองมาเท่านั้นหากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วยส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่มักเป็น "ของเทศ" เช่นทองหยิบฝอยทองทองหยอดจากโปรตุเกสมัสกอดจากสกอตต์
ขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีเพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำตั้งแต่วัตถุดิบวิธีการทำที่กลมกลืนพิถีพิถันในเรื่องรสชาติสีสันความสวยงามกลิ่นหอมรูปลักษณะชวนรับประทานตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานขนมแต่ละชนิดซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ
ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆภาคของประเทศไทยในพิธีการต่างๆเนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระก็คือขนมจากไข่และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆงานศิริมงคลต่างๆเช่นงานมงคลสมรสทำบุญวันเกิดหรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงานเพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทองเพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาวมีอายุยืนขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟูขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอกเป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น