วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สมาชิกในกลุ่ม
นางสาววราพร   เหล่าอุ่นอ่อน เลขที่26
นางสาวยุวดี  บุญศรี เลขที่ 29

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ขนมไทยเป็นมิตรต่อสุขภาพ
          ขนมไทยมีรากเหง้ามาจากสังคมเกษตรผูกพันกับธรรมชาติวัตถุดิบที่นำมาทำเป็นขนมก็ล้วนมาจากธรรมชาติดังนั้นคุณสมบัติหลายประการของผลผลิตตามธรรมชาติก็จะยังคงมีอยู่มากจากการสำรวจคุณค่าทางโภชนาการขนมไทยของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขพบว่าขนมไทยส่วนใหญ่นอกจากจะมีคุณค่าในสารอาหารหลักๆอย่างคาร์โบไฮเดรตโปรตีนไขมันแล้วยังมีแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายรวมอีกด้วยอาทิเช่นแคลเซียมฟอสฟอรัสเหล็กวิตามินเอเรตินอลแคโรทีนเป็นต้นซึ่งคุณค่าอาหารรวมหมู่แบบนี้จะหาไม่ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะเป็นการสกัดสารอย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุในแคปซูลเพื่อขายในราคาแพงๆเท่านั้นและในขนมถุงสารอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้ก็ยังหาทำยาได้อยากเช่นกัน
          นอกจากนี้ด้วยความที่ขนมไทยยังไม่ได้ถูกครอบงำจากระบบอุตสาหกรรมข้ามชาติทำให้ขนมไทยมีความปลอดภัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความปลอดภัยจากการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรมหน้าแรกขนมไทยเป็นมิตรต่อสุขภาพประโยชน์จากขนมไทยการเลือกรับประทานขนมไทยการกินแบบไทยๆขนมไทยในเทศกาลงานบุญขนมไทยในงานมงคลขนมไทยแด่ผู้ยากไร้ขนมไทยที่ใช้เป็นของขวัญหรือจีเอ็มโอเพราะจากการตรวจสอบของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกรีนพีชพบว่ามีขนมกรุบกรอบหรือขนมถุงที่จำหน่ายในท้องตลาดบางยี่ห้อมีการใช้วัตถุดิบที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอแม้จะยังเป็นข้อถกเถียงที่ยังไม่มีบทสรุปมาจนถึงทุกวันนี้ว่าคนที่กินอาหารจีเอ็มโอหรือมีส่วนผสมของอาหารจีเอ็มโอเข้าไปจะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายหรือไม่อย่างไรแต่เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภคก็ไม่ควรที่จะเสี่ยง


ประวัติและความเป็นมาของขนมไทย
            ขนมจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณโดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาว-หวานโดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยงนับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระงานมงคลและงานพิธีการอาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วยของหวานอย่างน้อย5 สิ่งซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติสีสันชนิดตลอดจนลักษณะที่กลมกลืนกันแต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้10 ที่และขนมเป็นน้ำ1 ที่เสมอ
             ประเทศไทยครั้งยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติเช่นจีนอินเดียมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกันตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารการกินร่วมไปด้วยต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆอย่างกว้างขวางไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นวัตถุดิบที่หาได้เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทยๆจนทำให้คนรุ่นหลังๆแยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ๆและอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่นเช่นขนมที่ใช้ไข่และขนมที่ต้องเข้าเตาอบซึ่งเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่นสัญชาติโปรตุเกสของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้นไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบทองหยอดและฝอยทองมาเท่านั้นหากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วยส่วนใหญ่ตำรับขนมที่ใส่มักเป็น "ของเทศ" เช่นทองหยิบฝอยทองทองหยอดจากโปรตุเกสมัสกอดจากสกอตต์
               ขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีเพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำตั้งแต่วัตถุดิบวิธีการทำที่กลมกลืนพิถีพิถันในเรื่องรสชาติสีสันความสวยงามกลิ่นหอมรูปลักษณะชวนรับประทานตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานขนมแต่ละชนิดซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ
              ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆภาคของประเทศไทยในพิธีการต่างๆเนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระก็คือขนมจากไข่และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆงานศิริมงคลต่างๆเช่นงานมงคลสมรสทำบุญวันเกิดหรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขกที่มาในงานเพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทองเพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาวมีอายุยืนขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟูขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอกเป็นต้น

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



เพิ่มคำอธิบายภาพ

 ขนมทองหยอดจากดอกกระเจี๊ยบ

ส่วนผสม
                                   1. ไข่เป็ด                      30      ฟอง
                                   2. 
น้ำเชื่อม
                                  
ใช้น้ำตาลทราย            2 1/2   กิโลกรัม
                                   3.
น้ำลอยดอกมะลิ          8      ถ้วยตวง
                                   4.
แป้งทองหยอด            1 1/2   ถ้วยตวง
                                            5.ดอกกระเจี๊ยบ

วิธีทำ
1. ผสมน้ำตาลกับน้ำลอยดอกมะลิ ตั้งไฟเคี่ยวให้ข้น ยกลงกรองแล้วตั้งไฟ
   
เคี่ยวต่อ แบ่งน้ำเชื่อมใส่อ่างไว้ส่วนหนึ่ง ที่เหลือตั้งไฟให้เดือด
2.
ตอกไข่ แยกไข่ขาวไข่แดง นำไข่แดงใส่ผ้าขาวบาง รีดเยื่อไข่ออกใส่อ่าง
   
ตีให้ขึ้นประมาณ 10 นาที
3.
ตักไข่ที่ตีขึ้นแล้วประมาณ 6 ช้อนโต๊ะ ใส่แป้งทองหยอด 3 ช้อนโต๊ะ
   
ผสมพอเข้ากัน อย่าให้เหนียว แช่ขนมที่สุกแล้วในน้ำเชื่อมที่แบ่งไว้     เพื่อให้ขนมฉ่ำไม่ด้าน หรือตีไข่ให้ขึ้นมาก ผสมแป้งลงคนให้เข้ากัน
    
นำไปหยอดในน้ำเชื่อม
4.แล้วตักขึ้นมานำไปแช่ในน้ำดอกกระเจี๊ยบ